ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อสนับสนุนนโยบายการปฏิรูปการเรียนรู้ของอุดมศึกษาไยในศตวรรษที่ 21 และ พัฒนาการเรียนการสอนในจุฬาฯให้เข้าสู่ระบบ Education 3.0 โดยมีนางประไพพิศ มงคลรัตน์ เป็นผู้อำนวยการท่านแรก ปัจจุบันศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ภายใต้บริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มีการดำเนินการตามโครงการยุทธศาสตร์ “LiLLE” นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม เป็นเสาหลักของแผ่นดิน และเป็นศูนย์กลางด้านอุดมศึกษาในภูมิภาค
ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของหน่วยงานที่จะเป็นเสาหลักด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ของสังคมไทย
ทั้งนี้ศูนย์ฯมีพันธกิจหลัก 3 ด้านได้แก่
1. เครือข่ายคณาจารย์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การสร้างบัณฑิตการสร้างเครือข่าย/พัฒนาคณาจารย์ให้มีความรู้
และทักษะเกี่ยวกับการเรียนการสอนรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิผลและส่งเสริมการวิจัยเพื่อปรับปรุง/พัฒนาการเรียนการสอน
2. นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยดิจิตอล ได้แก่การเตรียมความพร้อมประชาคมจุฬาให้เท่าทันโลกด้วยนวัตกรรมดิจิตอล
และสร้างเสริมประสบการณ์ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้และสร้างสรรค์
3. นวัตกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้แก่การสนับสนุนและพัฒนานิสิตให้มีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการคิดขั้นสูง
รวมถึงขยายโอกาสการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้สู่สังคมมุ่งสู่การศึกษาไร้พรมแดน
ผลงานเด่นในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่
- ต้นแบบการเรียนรู้ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ขั้นสูง และ Active Learning
– ต้นแบบห้องเรียนสมัยใหม่ ได้แก่ Smart Classroom Interactive Classroom และ Multi-monitor Classroom
– ต้นแบบคลังวีดีโอออนไลน์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทย ได้แก่ iTuneU Youtube Channel
และ http://www.media.lic.chula.ac.th
– สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของนิสิต จุฬาฯ
– สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Chula Clicker เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning
– สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Courseville เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการการเรียนรู้
– ผลักดันนโยบาย E-learningให้เกิดการใช้งานและเผยแพร่ทั่วมหาวิทยาลัย
ต้นแบบการเรียนรู้ ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ขั้นสูง และ Active Learning
– ต้นแบบห้องเรียนสมัยใหม่ ได้แก่ Smart Classroom Interactive Classroom และ Multi-monitor Classroom
– ต้นแบบคลังวีดีโอออนไลน์เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคมไทย ได้แก่ iTuneU Youtube Channel
และ http://www.media.lic.chula.ac.th
– สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของนิสิต จุฬาฯ
– สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Chula Clicker เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active Learning
– สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม Courseville เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการการเรียนรู้
– ผลักดันนโยบาย E-learning ให้เกิดการใช้งานและเผยแพร่ทั่วมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้โปรดติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานอื่นๆของศูนย์ฯ ได้ที่เว็บไซด์ http://lic.chula.ac.th และ เพจ Facebook: Learning Innovation Center หรือ @LicChula